เป้าหมาย (Understanding Goal) :

เป้าหมาย (Understanding Goal) :

Main

"คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหาได้ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์อื่นๆ"

เป้าหมายการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

- เข้าใจเนื้อหาที่เป็นพื้นฐาน เพื่อเรียนรู้วิชาอื่น เช่น
วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ พันธุกรรมศาสตร์ อย่างเช่น ความน่าจะเป็นมาใช้ในการวิเคราะห์ศึกษาพันธุกรรมของเมล็ดถั่ว ในทางชีววิทยาใช้เลขยกกาลังในการกำหนดหน่วยความยาวของดีเอ็นเอ (DNA) อัตราส่วนและยกกาลังไปใช้ในการหาดัชนี มวลกายของคน เพื่อวิเคราะห์และศึกษาภาวการณ์สะสมไขมันตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย การแปรเปลี่ยนของอุณหภูมิ แผนที่ทางอากาศบอกช่วงเวลา

เศรษฐศาสตร์ อย่างเช่น วิธีการอ่านกราฟและฟังก์ชัน การหาดุลยภาพและการเปลี่ยนแปลงดุลยภาพของตลาด เรียนรู้วิธีการตัดสินใจที่เหมาะสมที่สุดของผู้บริโภคและผู้ผลิต

การงานอาชีพ ศิลปะ อย่างเช่น อัตราส่วนการปรุงอาหาร การประกอบอาชีพ การออกแบบ การใช้เทคโนโลยี การสื่อสาร การเขียนโปรแกรมฯ การประมาณขนาดรูปร่างในการวาดภาพ มองโครงสร้างโมเดลจำลองในการสร้างประติมากรรม การเปรียบเทียบขนาดรูปร่างทางเรขาคณิต(พื้นที่ / ปริมาตร)

สังคม ประวัติศาสตร์ อย่างเช่น การบอกเวลา ระยะทาง บอกค่าเงิน(การแปลงค่าเงิน / การซื้อขายแลกเปลี่ยน) การคำนวณปีจากอดีต-ปัจจุบัน(พ.ศ. / ค.ศ.) ลักษณะทางภูมิศาสตร์ การออกแบบภูมิปัญญา(ปัญญาประดิษฐ์) การคำนวณความกว้างของแม่น้ำ การสร้างที่อยู่อาศัย ฤดูกาล

สุขศึกษา พลศึกษา อย่างเช่น การคำนวณค่าดัชนีมวลร่างกาย(BMI) การบอกค่าพลังงานจากสารอาหาร การวัดขนาดร่างกาย (น้ำหนัก / ส่วนสูง) การนับการเต้นของหัวใจ

- พัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ การแก้ปัญหา การมองเห็นรูปแบบ (Pattern) การสร้างภาพในสมอง การให้เหตุผล การสื่อสาร เชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาด้วยวิธีที่หลากหลาย


ปฏิทินและวิเคราะห์มาตรฐานการจัดกิจกรรมวิชาคณิตศาสตร์
ระดับชั้นมัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 1 Quarter 2 ปีการศึกษา 2559
Week
Input
Process
Output
Outcome












1
โจทย์
จำนวนนับ
- ตัวประกอบ

คำถาม
- นักเรียนคิดว่าจำนวนนับ คืออะไร จงยกตัวอย่าง
- นักเรียนคิดว่ามีจำนวนใดบ้านที่หาร 6 12 และ 24  ได้ลงตัว

เครื่องมือคิด
- Blackboards share
- Show and Share
- Wall thinking
- ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ตารางจำนวนนับ
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าจำนวนนับ คืออะไร จงยกตัวอย่าง?”
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่ามีจำนวนใดบ้านที่หาร 6 12 และ 24  ได้ลงตัว ?”
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น



ครูกำหนดจำนวนนับ เช่น  24       36        40      146       200
- นักเรียนแต่ละคน นำจำนวนที่ได้มาหาตัวประกอบ
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน เกี่ยวกับ รูปแบบการแยกตัวประกอบของจำนวนนับต่างๆ และบันทึกลงในสมุดบันทึกเล่มเล็ก
ภาระงาน
วิเคราะห์จำนวนนับและคุณสบมบัติของตัวประกอบที่ซ้อนอยู่

ชิ้นงาน
สมุดบันทึกเล่มเล็ก
ความรู้
 เข้าใจและสามารถอธิบายกระบวนการหาตัวประกอบของจำวนนับได้

ทักษะ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการคิด(วิเคราะห์/สร้างสรรค์)
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการเห็นแบบรูป
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ร่วมเรียนรู้กับผู้อื่นอย่างมีความสุข
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ความอดทน
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มาตรฐานตัวชี้วัด :  ค ๑.๑     เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง  ตัวชี้วัด ม.1/1- ม.1/2
                          ค ๑.๔    เข้าใจระบบจำนวนและนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้ ตัวชี้วัด ม.1/1
                                ค.๔.๑     เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป (pattern) ความสัมพันธ์ และฟังก์ชัน
2
โจทย์
จำนวนนับ
- ตัวประกอบเฉพาะ หรือ จำนวนเฉพาะ

คำถาม
- นักเรียนคิดว่าตัวประกอบและจำนวนของตัวประกอบในตาราง มีจำนวนใดบ้าง ?
- นักเรียนคิดว่าจํานวนนับในตารางจํานวนนับใดที่มีตัวประกอบเพียง 2 ตัว ?

เครื่องมือคิด
- Blackboards share
- Show and Share
- Wall thinking
- Flow Chart
- ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ตารางจำนวนเฉพาะ
- ครูติดตาราง (ดังรูปด้านล่าง)
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าตัวประกอบและจำนวนของตัวประกอบในตาราง มีจำนวนใดบ้าง ?”



- นักเรียนแต่ละคนร่วมกันวิเคราะห์ และเติมจำนวนต่างๆลงในตาราง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าจํานวนนับในตารางจํานวนนับใดที่มีตัวประกอบเพียง 2 ตัว ?”
- นักเรียนแต่ละคนแสดงความคิเห็นร่วมกัน
- ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย ประเด็น จำนวนนับที่มีค่ามากกว่า 1 และมีตัวประกอบเพียงสองตัว คือ 1 และตัวมันเอง เรียกว่า จำนวนเฉพาะ
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าในช่วง 1 – 20 มีจำนวนใดบ้างเป็นจำนวนเฉพาะ และนักเรียนมีวิทีวิเคราะห์อย่างไร?”


- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ และสรุปในรูปแบบของ Flow Chart
ภาระงาน
- วิเคราะห์คุณสมบัติการเป็นจำนวนเฉพาะของจำนวนนับ
- อภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ และสรุปในรูปแบบของ Flow Chart

ชิ้นงาน
- Flow Chart สรุปสิ่งที่เรียนรู้
- สมุดบันทึกเล่มเล็ก
ความรู้
 เข้าใจและสามารถอธิบายกระบวนการหาตัวประกอบของจำวนนับได้

ทักษะ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการคิด(วิเคราะห์/สร้างสรรค์)
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการเห็นแบบรูป
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ร่วมเรียนรู้กับผู้อื่นอย่างมีความสุข
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ความอดทน
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มาตรฐานตัวชีวัด:   ค ๑.๑     เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง 
                          ค ๑.๒    เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่าง การดำเนินการต่าง ๆ และสามารถใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา                     
                                ค.๔.๑     เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป (pattern) ความสัมพันธ์ และฟังก์ชัน
3
โจทย์
จำนวนนับ
การแยกตัวประกอบ

คำถาม
- จาก Web ตัวเลขที่ปรากกฏ นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง ?
- นักเรียนคิดว่าตัวเลขที่หายไปคือจำนวนใดบ้าง ? และมีความสัมพันธ์กับตัวเลขอื่นๆ  ใน Web อย่างไร ?

เครื่องมือคิด
- Blackboards share
- Show and Share
- Wall thinking
- Info graphics

- ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- Web เชื่อมโยงตัวเลข
- ครูกระตุ้นการคิดด้วยภาพ Web ตัวเลขดังนี้


- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด จาก Web ตัวเลขที่ปรากกฏ นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง ? ”
- นักเรียนแต่ละคนวิเคราะห์และอภิปรายร่วมกัน
- ครูติดชาร์ตรูปภาพ Web ตัวเลขดังนี้


- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าตัวเลขที่หายไปคือจำนวนใดบ้าง ? และมีความสัมพันธ์กับตัวเลขอื่นๆ  ใน Web อย่างไร ?”
- นักเรียนแต่ละคนร่วมวิเคราะห์ และเติมตัวเลขที่หายไป
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ และสรุปในรูปแบบของ Web เชื่องโยง
- ครูกำหนดตัวเลข
42    17    90   23    

- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนมีวิธีแยกตัวประกอบอย่างไรบ้าง
- นักเรียนร่วมวิเคราะห์ตัวเลขและนำเสนอร่วมกัน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  “จากการแยกตัวประกอบของทั้งตัวเลขทั้ง 4 จำนวน นักเรียนสังเกตุเห็นอะไรบ้าง?”
- นักเรียนร่วมแสดงคามคิดเห็นและอภิปรายร่วมกัน พร้อมทั้งสรุปในรูปแบบ Infographics
ภาระงาน
- วิเคราะห์ Web เชื่อโยงตัวเลขเพื่อสร้างการเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับการแยกตัวประกอบของจำนวนนับ
- อภิปรายร่วมกัน พร้อมทั้งสรุปในรูปแบบ Info graphics

ชิ้นงาน
- Info graphics สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
- Web เชื่องโยงตัวเลข และสมุดบันทึกเล่มเล็ก
ความรู้
 เข้าใจและสามารถอธิบายกระบวนการแยกตัวประกอบของจํานวนนับใดๆ ร่วมทั้งอธิบายคุณสมบัติจากการวิเคราะห์จำนวนนับที่สามารถแยกตัวประกอบได้


ทักษะ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการคิด(วิเคราะห์/สร้างสรรค์)
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการเห็นแบบรูป
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ร่วมเรียนรู้กับผู้อื่นอย่างมีความสุข
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ความอดทน
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มาตรฐานตัวชีวัด:    ค ๑.๑     เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง 
                          ค ๑.๒    เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่าง การดำเนินการต่าง ๆ และสามารถใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา                     
                                ค.๔.๑     เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป (pattern) ความสัมพันธ์ และฟังก์ชั
4
โจทย์
จำนวนนับ
ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.)

คำถาม
- นักเรียนจะจัดกลุ่มอย่างไรให้ได้กลุ่มละเท่ากันโดยไม่ให้ปนกัน ? แบ่งได้กี่กลุ่ม ? และได้กลุ่มละกี่เมล็ด?
- ครูมีริบบิ้นสีแดงยาว 24 นิ้ว  สีเหลืองยาว 36 นิ้ว  สีเขียวยาว 72 นิ้ว  ต้องการตัดเป็นเส้นเส้นละเท่าๆกันให้แต่ละเส้นมีขนาดยาวที่สุดและไม่ให้เหลือเศษเลย ริบบิ้นแต่ละเส้นจะยาวเท่าไร?”

เครื่องมือคิด
- Blackboards share
- Show and Share
- Wall thinking
- ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ลูกยางใหนักเรียนคนละ  12 เมล็ด  เมล็ดมะขาม 9 เมล็ด และเมล็ดถั่วแดง 6 เมล็ด
- ริบบิ้นสีแดงยาว 24 นิ้ว  สีเหลืองยาว 36 นิ้ว  สีเขียวยาว 72 นิ้ว
- ครูและนักเรียนร่วมทำกิจกรรม :  “จัดระเบียบม๊อบเมล็ดพันธุ์” โดยครูแจกลูกยางใหนักเรียนคนละ  12 เมล็ด  เมล็ดมะขาม 9 เมล็ด และเมล็ดถั่วแดง 6 เมล็ด
 

- ครูใช้คำถามกระการคิด นักเรียนจะจัดกลุ่มอย่างไรให้ได้กลุ่มละเท่ากันโดยไม่ให้ปนกัน ? แบ่งได้กี่กลุ่ม ? และได้กลุ่มละกี่เมล็ด?”
- นักเรียนแต่ละกลุ่มลงมือแบ่งกลุ่มเมล็ดพืชต่างๆ พร้อมนำเสนอกระบวนการคิด
- ครูและนักเรียนร่วมทำกิจกรรม :  ตัดอย่างไร ? ให้เท่ากัน
ครูกระตุ้นคิดด้วยสื่อ ริบบิ้น  สี คือ  สีแดง  สีเหลือง และสีเขียว ขนาดความยาวแตกต่างกัน


- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด ครูมีริบบิ้นสีแดงยาว 24 นิ้ว  สีเหลืองยาว 36 นิ้ว  สีเขียวยาว 72 นิ้ว  ต้องการตัดเป็นเส้นเส้นละเท่าๆกันให้แต่ละเส้นมีขนาดยาวที่สุดและไม่ให้เหลือเศษเลย ริบบิ้นแต่ละเส้นจะยาวเท่าไร?”
- นักเรียนร่วมทำกิจกรรมและอภิปรายร่วมกัน
- ครูกระตุ้นคิดด้วยโจทย์คำถามสถานการณ์จำลองตตต่างๆให้นักเรียนได้ฝึกวิเคราะห์ เช่น
(พี่แม็คต้องการตัดไม่ไผ่ 3 ลํา แต่ละลํายาว 12, 15 และ 24 เมตรตามลําดับถ้าจะตัดเป็นท่อนสั้นๆ ให้ยาวเท่าๆ กัน โดยให้แต่ละท่อนยาวที่สุดและไม่เหลือเศษ พี่แม็คจะได้ไม่ไผ่ยาวท่อนละกี่เมตรและได้ทั้งหมดกี่ท่อน)
- นักเรียนร่วมวิเคราะห์โจทย์ และอภิปรายร่วมกัน
- นักเรียนสรุปความเข้าใจและออกแบบโจทย์ใหม่ เพื่อใช้แลกเปลี่ยนและนำมาวิเคราะห์กับเพื่อร่วมชั้น
ภาระงาน
- ร่วมทำกิจกรรม :  “จัดระเบียบม๊อบเมล็ดพันธุ์”
- วิเคราะห์และอภิปรายร่วมกัน
- ร่วมทำกิจกรรม :  ตัดอย่างไร ? ให้เท่ากัน
- วิเคราะห์และอภิปรายร่วมกัน
- วิเคราะห์โจทย์สถานการณ์และนำเสนอร่วมกัน
- ออกแบบโจทย์ใหม่

ชิ้นงาน
- สมุดบันทึกเล่มเล็ก
- โจ ทย์ใหม่
ความรู้
 เข้าใจและสามารถนำความเข้าใจเกี่ยวกับ ตัวหารร่วมมากมาปรับใช้ในชีวิตจริงได้


ทักษะ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการคิด(วิเคราะห์/สร้างสรรค์)
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการเห็นแบบรูป
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ร่วมเรียนรู้กับผู้อื่นอย่างมีความสุข
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ความอดทน
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มาตรฐานตัวชีวัด:    ค ๑.๑     เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง 
                          ค ๑.๒    เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่าง การดำเนินการต่าง ๆ และสามารถใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา                     
                                ค.๔.๑     เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป (pattern) ความสัมพันธ์ และฟังก์ชัน
5-6
โจทย์
จำนวนนับ
คูณร่วมน้อย (ค.ร.น.)

คำถาม
มะม่วงผลละ 8 บาท มะพร้าวผลละ 6 บาท และแตงโมผลละ 9 บาท ถ้าต้องจ่ายเงิน ซื้อผลไม้ ทุกชนิด ราคาเท่ากัน และจ่ายเงินน้อยที่สุด แล้วจะซื้อผลไม้ได้ทั้งหมดกี่ผล

เครื่องมือคิด
- Blackboards share
- Show and Share
- Wall thinking
- ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
ใบงาน ตัวคูณร่วมน้อย
- ครูและนักเรียนร่วมทำกิจกรรม :  “บทประยุกต์ของ ค.ร.น.โดยครูมีโจทย์กระตุ้นการคิด ดังนี้
     (มะม่วงผลละ 8 บาท มะพร้าวผลละ 6 บาท และแตงโมผลละ 9 บาท ถ้าต้องจ่ายเงิน ซื้อผลไม้ ทุกชนิด ราคาเท่ากัน และจ่ายเงินน้อยที่สุด แล้วจะซื้อผลไม้ได้ทั้งหมดกี่ผล)



นักเรียนแต่ละคนวิเคราะห์และอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกระบวนการคิด
โดยครูมีโจทย์กระตุ้นการคิด คุณพ่อติดไฟกระพริบ 2 ดวง ดวงแรกกระพริบทุกๆ 30 วินาที ดวงที่สองกระพริบทุกๆ 36 วินาที ถ้าไฟสองดวงกระพริบพร้อมกันครั้งแรกตอน 10.45 น. ถามว่าไฟทั้งสองจะกระพริบพร้อมกันครั้งที่ 10 ในเวลาใด?’
นักเรียนแต่ละคนวิเคราะห์และอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกระบวนการคิด
- ครูแจกใบงาน



 - นักเรียนร่วมวิเคราะห์โจทย์ และอภิปรายร่วมกัน
- นักเรียนสรุปความเข้าใจและออกแบบโจทย์ใหม่ เพื่อใช้แลกเปลี่ยนและนำมาวิเคราะห์กับเพื่อร่วมชั้น
ภาระงาน
- ร่วมทำกิจกรรม :  “บทประยุกต์ของ ค.ร.น.
- วิเคราะห์และอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกระบวนการคิด
- วิเคราะห์ใบงาน

ชิ้นงาน
- สมุดบันทึกเล่มเล็ก
- ใบงาน
ความรู้
 เข้าใจและสามารถนำความเข้าใจเกี่ยวกับ ตัวคูณร่วมน้อยมาปรับใช้ในชีวิตจริงได้

ทักษะ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการคิด(วิเคราะห์/สร้างสรรค์)
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการเห็นแบบรูป
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ร่วมเรียนรู้กับผู้อื่นอย่างมีความสุข
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ความอดทน
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มาตรฐานตัวชีวัด     ค ๑.๑     เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง 
                           ค ๑.๒    เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่าง การดำเนินการต่าง ๆ และสามารถใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา                     
                           ค.๔.๑     เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป (pattern) ความสัมพันธ์ และฟังก์ชัน
7- 8
โจทย์
พื้นฐานทางเรขาคณิต
- การสร้าง

คำถาม

เครื่องมือคิด
- Blackboards share
- Show and Share
- Wall thinking
- ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้






- ภาพ

- ตาราง
- กระดาษไอโซเมตริก
- ศิลปะ Drianspotting
- ครูกระตุ้นการคิด โดย ให้นักเรียนสังเกตุรูปต่อไปนี้
 


- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนนับได้กี่รูปและแต่ละรูปมีจำนวนเท่าใด ?”
- นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด พี่ๆคิดว่าในธรรมชาติ  รูปเรขาคณิตมีอยู่ที่ใดบ้าง?”



- นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด พี่ๆคิดว่า ภาพเรขาคณิต 2 มิติและ 3 มิติ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ?”


นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นและวิเคราะห์ร่วมกัน
- ครูเปิดภาพ (ด้านล่าง) ให้นักเรียนดู

- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่า รูปวงกลม และสามเหลี่ยมในภาพนี้แต่ละภาพสัมพันธ์กันอย่างไร ?”
- นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น
- ครูเปิดภาพเรขาคณิต 3 มิติจากกล่องลูกบาศก์ให้นักเรียนดู



- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด จากภาพพี่ๆคิดว่า ภาพด้านบน  ด้านข้าง และด้านหน้าจะมีลักษณะเป็นอย่างไร ?”
- นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
- ครูแจกตารางให้นักเรียนแต่ละคน


- นักเรียนแต่ละคนวาดรูปเรขาคณิต ด้านต่างๆที่มองเห็นและอภิปรายร่วมกัน
ครูฝากเป็นการบ้าน
- ให้นักเรียนวาดภาพสามมิติ ลงในตาราง และ อออกแบบ ลงใน กระดาษไอโซเมตริกที่กำหนดให้

 





- ครูเปิดภาพ ศิลปะ Drianspotting” พร้อมเล่าความเป็นมาให้นักเรียนฟัง



- ครูแจกอุปกรณ์ให้นักเรียนแต่ละคนสำหรับออกแบบภาพ 2 มิติและ 3 มิติ
- นักเรียนแต่ละคนลงมือสร้างสรรค์ชิ้นงานและนำเสนอร่วมกัน
ภาระงาน
- วิเคราะห์ความสัมพันธ์และออกแบบภาพ 2 มิติและ 3 มิติ
- อภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับภาพเรขาคณิต 2 และ 3 มิตในธรรมชาติ
- ออกแบบภาพ

ชิ้นงาน
- สมุดบันทึกเล่มเล็ก
- ภาพเรขาคณิต 3 มิติจากกล่องลูกบาศก์
- งานศิลปะจากเรขาคณิต
ความรู้
เข้าใจพื้นฐานของการสร้างภาพเรขาคณิต 2 มิติ และ 3 มิติ ร่วมถึงสามารถนำไปออกแบบเป็บภาพศิลปะที่งดงามได้

ทักษะ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการคิด(วิเคราะห์/สร้างสรรค์)
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการเห็นแบบรูป
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ร่วมเรียนรู้กับผู้อื่นอย่างมีความสุข
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ความอดทน
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มาตรฐานตัวชีวัด: ค ๒.๑    เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด
                        ค ๒.๒    แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด
                              ค ๓.๑    อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ ตัวชี้วัด ม.1/1 - ม.1/6
9
โจทย์
สรุปการเรียนรู้หลังเรียน

คำถาม
- สำหรับ Quarter นี้ นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?
- นักเรียนคิดว่าจะถ่ายทอดสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ให้ผู้อื่นร่วมเรียรู้ได้อย่างไร?

เครื่องมือคิด
- Blackboards share
- Show and Share
- Wall thinking
- Mind Mapping
- ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- กระดาษ A4
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  สำหรับ Quarter นี้ นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?และ นักเรียนคิดว่าจะถ่ายทอดสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ให้ผู้อื่นร่วมเรียรู้ได้อย่างไร?”
- นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น และทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
- นักเรียนแต่ละคนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในรูปแบบ Mind Mapping พร้อมทั้งประเมินตนเอง ในสิ่งที่ทำได้ดีแล้ว และสิ่งที่จะพัฒนาต่อไป

ภาระงาน
- อภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ที่ได้เรียนรู้ตลอด Quarter นี้
- สรุปองค์ความรู้หลังเรียนในรูปแบบ Mind Mapping
ชิ้นงาน
Mind Mapping สรุปองค์ความรู้หลังเรียน
ความรู้
 เข้าใจและสามารถอธิบายสิ่งที่ได้เรียนรู้ให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง

ทักษะ
- ทักษะการคิด(วิเคราะห์/สร้างสรรค์)
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ร่วมเรียนรู้กับผู้อื่นอย่างมีความสุข
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ความอดทน
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มาตรฐานตัวชีวัด:   ค ๖.๑  มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล   การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ  การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ  และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  ตัวชี้วัด ม.1/1 – ม.1/6